Skill Mapping ที่ผ่านการกลั่นกรอง
Smart SME (เน้นทักษะด้าน digital marketing)
SME หรือ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยที่ SME ย่อมาจาก Small and Medium Enterprises
ซึ่งธุรกิจ SME มีอิสระจากอิทธิพลใด ๆ ดำเนินการโดยเจ้าของเอง ซึ่งเป็นภาคเอกชน มีต้นทุนในการก่อตั้งต่ำ และจำนวนพนักงานไม่มาก สามารถอยู่ในรูปแบบกิจการการผลิต (Production Sector) กิจการการค้า (Trading Sector) และกิจการบริการ (Service Sector)
บทความความรู้ทางธุรกิจ กรุงไทย SME ของธนาคารกรุงไทย ได้กล่าวถึง เครื่องมือที่ช่วยให้ SME สามารถก้าวสู่เป็นธุรกิจชั้นนำ ก็คือ การตลาดดิจิตอล โดยทางธนาคารกรุงไทย ได้กล่าวว่า “Digital Marketing หรือการตลาดดิจิตอล ถือเป็นเครื่องมือใหม่ทางการตลาดที่เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการตลาดยุคปัจจุบัน ด้วยต้นทุนทางการทำตลาดที่ต่ำกว่าแต่ให้ประสิทธิภาพที่เหนือกว่า จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากที่ SME ต้องเข้าใจและสามารถใช้นำการตลาดดิจิตอลมาปรับใช้กับธุรกิจของตนเองได้อย่างเหมาะสม”
ในขณะที่หน่วยงานภาครัฐ โดย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ SME ก็ได้วิเคราะห์และจัดทำกิจกรรมเพื่อเพิ่มศักยภาพในการประกอบธุรกิจให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจรายย่อย โดยมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการออนไลน์ด้วย Digital Marketing เป็นการสร้างช่องทางจำหน่ายสินค้าในตลาดอิเล็กทรอนิกส์ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ
ดังนั้นในการจัดทำ Skill mapping ของสายงาน Smart SME ทางที่ปรึกษาจึงเห็นว่าทักษะทางด้าน Digital Marketing เป็นทักษะที่มีความสำคัญมากในสายงานดังกล่าว จึงได้จัดทำ Skill mapping โดยมุ่งเน้นไปยัง Digital Marketing ซึ่งเป็นอาชีพที่เฉพาะ
ทางสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จึงได้จัดทำ Skill mapping เพื่อจะหาทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพเป็น Smart SME (เน้นทักษะด้าน digital marketing) และทาง สป.อว. จึงได้แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณากลั่นกรองทักษะที่จำเป็น ทั้งนี้คณะกรรมการชุดดังกล่าวได้จัดประชุมและให้ความคิดเห็น
โดยผู้ทรงคุณวุฒิได้พิจารณาทักษะที่ได้จากฐานข้อมูล และให้ความเห็นว่าทักษะนั้น ๆ มีความสำคัญมากน้อยเพียงใด โดยให้คะแนนความสำคัญทั้งหมด ๕ ระดับ คือ น้อย ค่อนข้างน้อย ปานกลาง ค่อนข้างมาก มาก
จากนั้นจึงแทนค่าน้ำหนัก ด้วยตัวเลขดังนี้ น้อย เท่ากับ ๑ ค่อนข้างน้อย เท่ากับ ๒ ปานกลาง เท่ากับ ๓ ค่อนข้างมาก เท่ากับ ๔ และ มาก เท่ากับ ๕ และนำคำตอบของผู้ทรงคุณวุฒิ มาแทนด้วยตัวเลข และคำนวณหาค่าเฉลี่ย แสดงคะแนนส่วนของผู้ทรงคุณวุฒิได้ดังรูปที่ ๑ และ รูปที่ ๒. ในขณะที่คะแนนจากฐานข้อมูล จะนำค่าจำนวนของผู้ที่มีทักษะมากสุด มาทำการ Normalize และ Scale ให้คะแนนเต็ม ๕ ในขณะที่ทักษะอื่น ๆ ก็จะมีคะแนนลดหลั่นลงมาตามลำดับ
รูปที่ ๑ เปรียบเทียบทักษะในมุมมองของผู้ทรงคุณวุฒิ กับข้อมูลที่ได้จากฐานข้อมูลในรูปแบบ Bar Chart
รูปที่ ๒ เปรียบเทียบทักษะในมุมองของผู้ทรงคุณวุฒิ กับข้อมูลที่ได้จากฐานข้อมูลในรูปแบบ Radar Chart
เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้คะแนนแต่ละทักษะเรียบร้อยแล้ว ท่านผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ร่วมกันกำหนดคำนิยามแต่ละทักษะ สรุปดังนี้
ทักษะ Digital Marketing
- รู้ภาพรวมของการตลาดดิจิทัล ว่ามีกี่ประเภท มีหลักการการเลือกใช้อย่างไร
- เข้าใจและสามารถเลือกรูปแบบของการตลาดดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ทำ
- ทราบกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการตลาดดิจิทัล
- ทราบจริยธรรมการตลาดดิจิทัล
- วางแผนกลยุทธ์ สร้างกลยุทธ์ และควบคุมกลยุทธ์การตลาดดิจิทัล
- เข้าใจวิธีทำการตลาด
- ผ่านเว็บไซต์
- การตลาดแบบพึ่งพาและการตลาดผ่านอีเมล
- การตลาดผ่านเครือข่ายสังคม
- การตลาดผ่านวิดีโอ
- การตลาดผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ (สร้าง Application)
- ทราบแนวโน้มการตลาดดิจิทัล เช่น การใช้ข้อมูลขนาดใหญ่และการใช้ปัญญาประดิษฐ์
หมายเหตุ งานด้านการขนส่งจัดส่งที่เหมาะสม การรับเคลมสินค้าเมื่อเกิดการเสียหาย ไม่อยู่ในคำนิยามทักษะนี้
ทักษะ Social Media Marketing
- มีความรู้เกี่ยวกับเครือข่ายสังคมที่ได้รับความนิยมและลักษณะของเครือข่ายสังคมต่าง ๆ ได้แก่ Facebook, Line, Twitter, Instagram, YouTube และ TikTok สามารถเลือกใช้เครือข่ายสังคมแต่ละชนิดกับการทำการตลาดที่เหมาะสมกับสินค้าและบริการของบริษัทตนเอง โดยเลือกเครือข่ายสังคมให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เหมาะสมกับเนื้อหาที่ต้องการสื่อสาร เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ทางการตลาด และเหมาะสมกับงบประมาณที่มี
- สามารถจัดการเนื้อหาเพื่อการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมแต่ละเครือข่าย
- สามารถเลือกเครื่องมือที่ใช้ทำการวิเคราะห์ผลการทำการตลาดบนเครือข่ายสังคมออนไลน์
- รู้จักการทำเอบีเทสติ้งหรือการทดสอบแบบเปรียบเทียบว่าเนื้อหา สื่อ หรืองานโฆษณาชิ้นใดให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าหรือมีประสิทธิภาพสูงกว่า
- วิเคราะห์ผลการทำการตลาดและสามารถหาแนวทางปรับปรุงการดำเนินงานผ่านการทำการตลาดผ่านเครือข่ายสังคม
ทักษะ Search Engine Optimization (SEO)
- เข้าใจหลักการการทำให้เว็บไซต์เป็นที่รู้จักและเข้าถึงด้วยโดยง่ายผ่านการสร้างเว็บไซต์ที่มีองค์ประกอบและโครงสร้างที่เหมาะสมซึ่งจะช่วยให้สามารถปรับอันดับเว็บไซต์ในสุดเอ็นจิ้นได้
- มีความเข้าใจเรื่องข้อดีและข้อจำกัดของการทำ SEO
- สามารถวิเคราะห์โครงสร้างและปรับโครงสร้างของเว็บไซต์ให้เหมาะกับการทำการปรับอันดับเว็บไซต์ในสัตว์เอ็นจิ้น ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบต่างๆและนำมาปรับใช้กับเว็บไซต์
- สามารถใช้องค์ประกอบที่สำคัญได้แก่ เนื้อหา (Content) ชื่อเรื่องหรือหัวข้อ (Title) Metadata คำสำคัญ (Keyword) เพื่อใช้ในการค้นหา และเข้าใจเรื่องการเชื่อมโยง องค์ประกอบดังกล่าวและ การเชื่อมโยงกับเว็บไซต์อื่นๆ ที่จะทำให้ สามารถปรับอันดับของเว็บไซต์ได้
- เข้าใจความสัมพันธ์และความสำคัญของ Site Architecture, Link & Content
- รู้จักเลือกใช้คือเครื่องมือเพื่อการวิเคราะห์การทำการปรับอันดับเว็บไซต์ เช่น การใช้ Google Trends และ Google Search Console
- สามารถทำลิ้งค์ไว้ Promote ให้ถูกหลักการ SEO เช่นการเขียนลิงค์ข้อความและการเขียนลิงค์รูปภาพ
ทักษะ Ad Serving
- เข้าใจวิธีทำการตลาด
- ผ่านเว็บไซต์
- โฆษณา Banner ผ่านเว็บไซต์
- การตลาดนำเสนอด้วยรูปภาพ
- สร้างโฆษณา โดยสามารถเขียนเนื้อหาได้อย่างชัดเจนว่ามีสินค้าหรือบริการอะไรบ้างและเขียนข้อความโฆษณาที่มีความดึงดูดและกระตุ้นความสนใจของผู้พบเห็นและดึงดูดผู้ใช้งานให้เกิดการคลิก การกดและการส่งลิงค์ต่อให้บุคคลอื่นได้พบเห็นให้มากที่สุด เพื่อที่จะเกิดรายได้กับผู้ที่ทำ Ad โฆษณา อาทิเช่น โฆษณาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ ใส่สีสันให้เหมาะสมมองแล้วสบายตาหรือใส่สีสันสดใสเพื่อกระตุ้นความสนใจให้กับทางลูกค้า
- ใส่ใจเลือกใช้สีที่เหมาะสมต่อแบรนด์ของทางลูกค้า สีไม่ผิดเพี้ยนจากแบรนด์ของทางลูกค้า
- มีทักษะการบริหารจัดการ เนื่องจากต้องจัดการ Ad ที่ถูกส่งเข้าระบบ
- เข้าใจวิธีใช้เครื่องมือบริหารจัดการโฆษณา
- มีทักษะคิดวิเคราะห์ ข้อมูลที่ได้รับจากรายงานของ Ad Serving
ทักษะ Google Analytics
- สามารถช่วยให้เจ้าของเว็บไซต์ได้ทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ของตนเองได้แบบ Real-Time สามารถทราบถึงพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้งาน
- เข้าใจและสามารถนำสถิติการใช้งานเว็บไซต์ไปวิเคราะห์เพื่อพัฒนาการเข้าถึงเว็บไซต์
- สามารถผูกกับบัญชี Google Ads ช่วยวิเคราะห์ภาพรวมของการทำโฆษณาได้
- อ่านรายงาน 4 กลุ่มหลักได้ แก่ Audience, Acquisition, Behavior และ Conversion Report
- ใช้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจในการวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานของทางลูกค้า
- สามารถนำข้อมูลมาปรับปรุงความรวดเร็วในการใช้งานเว็บไซต์ของตนเอง
- สามารถติดตามเก็บรวบรวมและนำเสนอผ่านทางหน้า Dashboard
- สามารถอ่านและตีความจากตัวเลขสถิติที่เกิดขึ้นจากการใช้งานเว็บเพจ
ทักษะ Google Ads
- สร้างบัญชีเพื่อทำการตลาดออนไลน์ได้
- สามารถทำโฆษณาเว็บไซต์ผ่านทางบัญชีดังกล่าว
- โปรโมทสินค้าและบริการที่ต้องการนำเสนอให้กับทางลูกค้า
- สามารถทำโฆษณาผ่านเครือข่าย Google เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้ใช้งานได้อย่างตรงใจความต้องการของทางลูกค้า
- สามารถกำหนดเป้าหมายที่จะโฆษณาตามสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เพื่อนำเสนอความต้องการที่ตรงใจกับทางลูกค้า
- สามารถใส่ Keyword ให้ตรงใจลูกค้าใน Text Ad
- สามารถจัดโครงสร้างของ Campaign ได้ตรงใจและตรงความต้องการของทางลูกค้าได้อย่างเหมาะสม
- ไม่ตั้ง Bid ราคาสูงสุดตั้งแต่เริ่มต้นโฆษณา เพราะจะทำให้เกิดความสิ้นเปลืองงบ
- ตั้งงบให้เพียงพอต่อวันให้พอดีกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น
- หลีกเลี่ยงการใช้ Keyword ที่กว้างเกินไป ทำให้ลูกค้าค้นหาแล้วไม่ตรงตามความต้องการของลูกค้า
- กำหนด Keyword และจัด Group อย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อการใช้งาน
ทักษะ Online Marketing
- เหมือน Digital Marketing
- ทราบจริยธรรมการตลาดดิจิทัล
- ทราบกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการตลาดดิจิทัล
- วางแผนกลยุทธ์ สร้างกลยุทธ์ และควบคุมกลยุทธ์การตลาดดิจิทัล
- รู้ภาพรวมของการตลาดดิจิทัล ว่ามีกี่ประเภท มีหลักการการเลือกใช้อย่างไร
- เข้าใจและสามารถเลือกรูปแบบของการตลาดดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ทำ
- เข้าใจวิธีทำการตลาด
- ผ่านเว็บไซต์
- การตลาดแบบพึ่งพาและการตลาดผ่านอีเมล
- การตลาดผ่านเครือข่ายสังคม
- การตลาดผ่านวิดีโอ
- การตลาดผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ (สร้าง Application)
- ทราบแนวโน้มการตลาดดิจิทัล เช่น การใช้ข้อมูลขนาดใหญ่และการใช้ปัญญาประดิษฐ์
หมายเหตุ งานด้านการขนส่งจัดส่งที่เหมาะสม การรับเคลสินค้าเมื่อเกิดการเสียหาย ไม่อยู่ในคำนิยามทักษะนี้
ทักษะ Email Marketing
- เข้าใจประเภทของอีเมลที่นิยมใช้ในทางการตลาด เช่นอีเมลเปลี่ยนแปลงสู่พฤติกรรมเป้าหมาย จดหมาย อีเมลที่ถูกส่งตามเหตุการณ์ ชุดอีเมลตามลำดับ อีเมลสำรวจความคิดเห็น
- สร้างรายชื่อลูกค้าเพื่อการติดต่อทางอีเมล โดยสามารถแสวงหารายชื่อบัญชีอีเมลลูกค้าได้จากหลายแหล่งทั้งจากการเก็บข้อมูลแบบ Offline และ Online รวมถึงการจัดหาจากภายนอกองค์กรโดยจะต้องมีความรู้เสริมเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลพ.ศ. 2562
- สามารถเลือกใช้เครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูลบัญชีอีเมลที่เหมาะสมกับองค์กรและเงินลงทุนที่มี
- สามารถออกแบบเนื้อหาอีเมล
- เลือกใช้ซอฟต์แวร์บริการการตลาดผ่านอีเมล ที่เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานและเงินทุน
- รู้จักเลือกใช้ฟังก์ชันต่างๆในซอฟต์แวร์บริการการตลาดผ่านอีเมล เช่น การสร้างแคมเปญ
- รู้จักเลือกใช้แนวทางของการทำการตลาดผ่านอีเมลให้เหมาะสมกับสินค้าหรือบริการของตนเอง
- ติดตามและประเมินผลการทำการตลาดผ่านอีเมล โดยจะต้องเข้าใจตัวชี้วัดการประเมินผลศักยภาพการทำการตลาดแบบอีเมล เช่นอัตราการเปิดอ่าน อัตราการคลิกลิงค์จากอีเมล และอัตราการตอบกลับ
- การตลาดผ่านอีเมล
- ใช้สื่อสารกับทางลูกค้า เป็นการโต้ตอบแบบสองทาง เพื่อรับ Feedback จากทางลูกค้า
- นำเสนอความต้องการให้ตรงกลุ่มเป้าหมายของทางลูกค้า
- สามารถจัดกลุ่มและนำเสนอให้กับทางลูกค้าได้พร้อมกันในการส่งแต่ละครั้งสามารถส่งได้ปริมาณจำนวนมาก
ทักษะ Web Analytics
- สามารถกำหนดตัวชี้วัดในการวัดผลทางธุรกิจ
- สามารถวัดผลประสิทธิภาพของเว็บไซต์ของตนเองได้
- นำข้อมูลที่วิเคราะห์ได้มาวางแผนกลยุทธ์การทำการตลาด
- เป็นเครื่องมือที่ช่วยบอกถึงพฤติกรรมกรรมการใช้งานของผู้เข้าชมเว็บไซต์
- วัดผลการใช้งานของทางผลใช้งานเมื่อเข้ามาเยี่ยมชมเว็บเพจว่ามีความชื่นชอบข้อมูลประเภทใดได้อย่างเหมาะสม
ทักษะ Search Engine Marketing (SEM)
- ใช้ Google AdWords
- กำหนดกลุ่มเป้าหมาย
- กำหนดพื้นที่กลุ่มเป้าหมายและการแสดงผล
- สร้างโฆษณา โดยสามารถเขียนเนื้อหาได้อย่างชัดเจนว่ามีสินค้าหรือบริการอะไรบ้างและเขียนข้อความโฆษณาที่มีความดึงดูดและกระตุ้นความสนใจของผู้พบเห็น
- กำหนดงบประมาณ คิดราคาค่าโฆษณา โดยต้องเข้าใจหลักการของวิธีคิดเงินและการชำระเงินเช่นการคิดราคาต่อหนึ่งคลิปเว้นวรรคการคิดราคาต่อการแสดงผลเว้นวรรคการคิดราคาต่อการกระทำ ราคาต่อการรับชมเพื่อให้เหมาะกับประเภทธุรกิจของตัวเอง
- เข้าใจข้อดีและข้อจำกัดในการทำการตลาดด้วยการซื้อโฆษณากับเว็บไซต์ที่ให้บริการเสิร์จเอ็นจิ้น
ทักษะ Analytic Skill
- ทราบถึงข้อมูลในการดำเนินการธุรกิจ
- สามารถเข้าถึงข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคเชิงลึก
- สามารถกำหนดเป็นตัวชี้วัดในการวัดผลทางธุรกิจ
- ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลของธุรกิจในองค์กรของตนเอง
- นำข้อมูลที่วิเคราะห์ได้มาวางแผนกลยุทธ์การทำการตลาด ทำให้เข้าใจกลุ่มเป้าหมายลูกค้าหรือคู่ค้าที่มาร่วมทำธุรกิจร่วมกัน
- สามารถนำเลขทางสถิติมาวิเคราะห์ได้ว่า ตัวเลขต่างๆ นั้นมีความสัมพันธ์และมีความสำคัญอย่างไร เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการนำข้อมูลมาใช้งานได้เกิดประโยชนสูงสุด
นอกจากนี้ผู้ทรงคุณวุฒิได้เสนอทักษะเพิ่มเติมดังนี้
ทักษะ Affiliate Marketing โดยกำหนดคำนิยามดังนี้
- ความเข้าใจในการทำการตลาดแบบหุ้นส่วนในฐานะผู้ต้องการโฆษณา
- ความเข้าใจในการทำการตลาดแบบหุ้นส่วนในฐานะนายหน้ารายย่อย
- เข้าใจผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการทำการตลาดแบบหุ้นส่วนได้แก่ผู้ต้องการโฆษณา โปรแกรมหุ้นส่วนหรือนายหน้ารายย่อย ลูกค้าว่ามีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร
- รู้จักประเภทของโปรแกรมหุ้นส่วนหรือนายหน้ารายย่อย เช่นเว็บไซต์รวบรวม เว็บไซต์เปรียบเทียบราคา เว็บไซต์รีวิว เว็บไซต์แจกรางวัลหรือคืนเงิน เว็บไซต์สุดยอดบล็อกเกอร์ เครือข่ายโปรแกรมหุ้นส่วน (Affiliate Networks)
- ติดตามและประเมินผลการทำการตลาดแบบหุ้นส่วน โดยจะต้องเข้าใจตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องในการประเมินผลศักยภาพ เช่นจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมครั้งแรก จำนวนผู้ที่คาดหวังจะเป็นลูกค้า อัตราการเปลี่ยนแปลงจากผู้เยี่ยมชมเป็นผู้ซื้อ ค่าใช้จ่ายต่อหนึ่งหลีด ผลตอบแทนจากการโฆษณา
- สำหรับการทำการตลาดแบบหุ้นส่วนในฐานะผู้ต้องการโฆษณา นักการตลาดจะต้องเข้าใจปัจจัยที่มีผลต่อการทำการตลาดแบบหุ้นส่วนได้แก่จำนวนการเป็นสมาชิกเครือข่ายโปรแกรมหุ้นส่วน ระยะเวลาหมดอายุของอินเตอร์เน็ตคุกกี้ ค่าคอมมิชชั่น รูปแบบการแสดงผลของสินค้าหรือแบรนด์บนช่องทางของโปรแกรมหุ้นส่วนหรือนายหน้ารายย่อยที่มีผลกับรายได้
- สามารถใช้โปรแกรมหุ้นส่วนประเภทอื่นหรือประเภทนายหน้ารายย่อยได้
- สำหรับการทำการตลาดแบบหุ้นส่วนในฐานะนายหน้ารายย่อย นักการตลาดจะต้องรู้จักวิธีการสร้างช่องทางและตัวตนออนไลน์ สามารถสมัครเข้าร่วมเครือข่ายโปรแกรมหุ้นส่วน และสามารถนำลิงค์ของแคมเปญต่างๆของโปรแกรมหุ้นส่วนมาวางไว้ในช่องทางส่วนตัวของตนเองได้
ทักษะ Content Marketing
- วางแผนกลยุทธ์การทำการตลาดเนื้อหา (Content)
- กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของการทำการตลาดผ่านเนื้อหา
- มีเทคนิคในการสร้างเนื้อหาหลายรูปแบบที่เหมาะสมกับช่องทางและกลุ่มเป้าหมายที่เลือกมาอย่างเฉพาะเจาะจง
- เข้าใจกลุ่มเป้าหมายและสามารถหาคุณค่าของกลุ่มเป้าหมายเพื่อที่จะนำมาใช้สร้างเนื้อหา ที่ได้รับความสนใจ
- เข้าใจประเภทต่างๆของข้อมูลที่จะต้องนำมาใช้พิจารณาเพื่อจัดทำบทและสร้างสรรค์เนื้อหาในการจัดทำสื่อทางการตลาด ได้แก่ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเฉพาะเจาะจง ข้อมูลจำเป็น ข้อมูลที่ทำให้เกิดยอดขายได้
- สามารถสร้างเนื้อหาให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ทางการตลาด ได้แก่เนื้อหาเชิงคุณค่า เนื้อหาเพื่อการขาย เนื้อหาประชาสัมพันธ์แจ้งข่าวสาร
- มีหลักการในการเลือกใช้ช่องทางเครือข่ายสังคมในการทำการตลาดดิจิทัล
- สามารถเลือกรูปแบบวิธีการเล่าเรื่องที่มีความแปลกใหม่ มีทักษะการเล่าเรื่อง
- สามารถเชื่อมโยงระหว่างปัญหาของลูกค้าและคุณสมบัติและคุณประโยชน์ของสินค้าหรือบริการของเราเพื่อนำไปเล่าเรื่องที่มีคุณค่าต่อลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้
- ติดตามกลุ่มเป้าหมาย Retargeting และสื่อสารแบบเป็นลำดับ Sequencing ได้
- รู้จักใช้ตัวกระตุ้นความสนใจ
- สามารถเลือกใช้เนื้อหาแบบสั้นหรือแบบยาว แบบผลักหรือแบบดึงเว้นวรรคให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และช่องทางการนำเสนอ และวัตถุประสงค์ของการทำการตลาด
สายงานเกษตรกร (Smart Farmers)
นิยามของ Smart Farmer จากกองพัฒนาเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร พบว่าคำนิยามของ Smart Farmer หรือ เกษตรกรปราดเปรื่อง คือ ผู้ประกอบการเกษตรที่มีการใช้เทคโนโลยี และการบริหารจัดการเพื่อการดำเนินธุรกิจเกษตรอย่างทันยุคสมัย มีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ และกรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดทำโครงการการพัฒนา Smart Farmer ตามนโยบาย ต่อ เติม แต่ง ได้กล่าวถึง การพัฒนา Young Smart Farmer โดยพัฒนาผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่แบบครบวงจร ทั้งการผลิต การแปรรูป การตลาด ตลอด Supply Chain เสริมทักษะผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่ด้านการมาตรฐานสินค้าเกษตรและการตลาดสากล
ทางสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จึงได้จัดทำ Skill mapping เพื่อจะหาทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพเป็น Smart Farmer ทั้งนี้ทาง สป.อว. จึงได้แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญเพื่อพิจารณากลั่นกรองทักษะที่จำเป็น ทั้งนี้คณะกรรมการชุดดังกล่าวได้จัดประชุมและให้ความคิดเห็น
โดยผู้ทรงคุณวุฒิได้พิจารณาทักษะที่ได้จากฐานข้อมูล และให้ความเห็นว่าทักษะนั้น ๆ มีความสำคัญมากน้อยเพียงใด โดยให้คะแนนความสำคัญทั้งหมด ๕ ระดับ คือ น้อย ค่อนข้างน้อย ปานกลาง ค่อนข้างมาก มาก
จากนั้นจึงแทนค่าน้ำหนัก ด้วยตัวเลขดังนี้ น้อย เท่ากับ ๑ ค่อนข้างน้อย เท่ากับ ๒ ปานกลาง เท่ากับ ๓ ค่อนข้างมาก เท่ากับ ๔ และ มาก เท่ากับ ๕ และนำคำตอบของผู้ทรงคุณวุฒิ มาแทนด้วยตัวเลข และคำนวณหาค่าเฉลี่ย แสดงคะแนนส่วนของผู้ทรงคุณวุฒิได้ดังรูปที่ ๑ และ รูปที่ ๒. ในขณะที่คะแนนจากฐานข้อมูล จะนำค่าจำนวนของผู้ที่มีทักษะมากสุด มาทำการ Normalize และ Scale ให้คะแนนเต็ม ๕ ในขณะที่ทักษะอื่น ๆ ก็จะมีคะแนนลดหลั่นลงมาตามลำดับ
รูปที่ ๑ เปรียบเทียบทักษะในมุมมองของผู้ทรงคุณวุฒิ กับข้อมูลที่ได้จากฐานข้อมูลในรูปแบบ Bar Chart
รูปที่ ๒ เปรียบเทียบทักษะในมุมมองของผู้ทรงคุณวุฒิ กับข้อมูลที่ได้จากฐานข้อมูลในรูปแบบ Radar Chart
เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้คะแนนแต่ละทักษะเรียบร้อยแล้ว ท่านผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ร่วมกันกำหนดคำนิยามแต่ละทักษะ สรุปดังนี้
ทักษะ Supply Chain Management
- สามารถเข้าใจในความสัมพันธ์ของระบบธุรกิจเกษตรและเชื่อมโยงข้อมูลที่ได้จากระบบ Supply Chain Management มากำหนดแนวทางการทำธุรกิจของฟาร์มในแต่ละช่วงน้ำของธุรกิจเพื่อให้สามารถดำเนินการผลิตสินค้า บริการที่มีคุณค่าตรงตามความต้องการของตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ มีขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจได้และสามารถทำกำไรได้ในที่สุด มีความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลผลิตในแต่ละช่วง ทั้งในเชิงปริมาณเช่น จำนวนผลผลิต ต้นทุนการผลิต สภาพแวดล้อมการผลิต เพื่อใช้เป็นฐานการวางแผนการจัดการผลิตในอนาคต การเชื่อมโยงข้อมูลที่สามารถวิเคราะห์เพื่อการตรวจสอบย้อนกลับได้ในกรณีมีปัญหาเกิดขึ้น
- ความสามารถในการเพิ่มมูลค่าใน Supply Chain
- ต้องรู้ระบบการผลิต การขนส่ง และการตลาด ทั้งระบบ
- สามารถบริหารจัดการตลอดห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
- การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์สินค้าเกษตรไทยตลอดกระบวนการผลิต ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ (Supply Chain Management and Logistics) โดยครอบคลุมประเด็นสําคัญ เช่น
- การวางแผนการผลิต
- การใช้เทคโนโลยีหลังเก็บเกี่ยวเพื่อควบคุมคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าเกษตร การบรรจุหีบห่อ
- การจัดการระบบโลจิสติกส์ ครอบคลุม การบริหารสินค้าคงคลังการขนส่งการตลาด จนถึงการส่งมอบสินค้า เป็นต้น
ทักษะ Logistic Management
- สามารถจัดการการนำส่งผลผลิตที่ผลิตได้ไปสู่ปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือส่งมอบตามระยะเวลาที่กำหนด คุณภาพของผลผลิตเมื่อถึงปลายทางยังอยู่ในสภาพที่ดีเป็นที่ต้องการ การจัดการให้มีต้นทุนด้านการขนส่งต่ำสุด เรียนรู้เทคนิค เทคโนโลยีด้านการจัดการด้านโลจิสติกส์ เพื่อเตรียมการจัดการก่อนการเก็บเกี่ยวที่สอดคล้องกับวิธีการ ระบบการขนส่ง พร้อมกับมีความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายผลผลิตในทุกขั้นตอนเพื่อตอบโจทย์การตรวจสอบย้อนกลับ
- ความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์ให้มีความคุ้มค่ามากที่สุด
- สามารถจัดการสินค้าเกษตรอย่างมีมาตรฐาน
ทักษะ Agriculture
- ต้องมีความรู้พื้นฐานทางการเกษตรและรู้ลึกในพืชผลผลที่ทำการผลิตต้องมีความสามารถในการวางแผน วางระบบการผลิต ในระบบเกษตรแม่นยำ โดยมีการเก็บข้อมูลด้านบริบทกายภาพของฟาร์ม ความต้องการของพืชผลและจัดการให้ได้ตามที่พืชผลต้องการเกิดผลผลิตที่มีคุณค่าตรงตามความต้องการและศักยภาพด้านการแข่งขัน
- การปฏิบัติงานเกษตร เน้นทักษะด้านการเกษตรกรรม ครอบคลุม
- การเลือกใช้และดูแลเครื่องมืออุปกรณ์การเกษตรตามหลักการและกระบวนการที่ถูกต้องเหมาะสม
- สร้างให้นักเกษตรมีเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพด้านการเกษตร สร้างกิจนิสัยในการทำงานด้วยความรับผิดชอบ รอบคอบ ขยันและอดทน
- มีความเข้าใจหลักการปฏิบัติงานเกษตรในฟาร์ม
- ความสามารถในการบูรณาการความรู้ทางด้านการเกษตรกับเรื่องของการผลิต
- ความสามารถในการบูรณาการความรู้ด้านการเกษตร
- สามารถจัดการฟาร์มได้ (Farm management)
ทักษะ Digital Marketing
- ต้องสามารถในการใช้สื่อออนไลน์ในการทำตลาดเองโดยตรงและหรือการทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มการตลาดออนไลน์ต่างๆ อีกทั้งต้องมีความสามารถในการวางแผนปฎิบัติการผลิตให้ตอบสนองต่อเงื่อนไขด้านเวลาส่งมอบ ปริมาณที่ตกลงกับลูกค้า/แพลตฟอร์มและคุณภาพ รวมทั้งความสามารถในการจัดการด้านต้นทุนที่ต้องมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเพื่อให้มีกำไรจากการทำตลาดออนไลน์ การขนส่งจัดส่งที่เหมาะสม การรับเคลมสินค้าเมื่อเกิดการเสียหาย ต้องมีระบบที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้
- สามารถใช้ Digital Marketing สร้างสรรค์โฆษณาต่างๆ ให้กับสินค้า เช่น
- การกำหนดรูปแบบเนื้อหา (Content)
- การกำหนดประเภทของสื่อ เช่น ใช้ Infographic นำเสนอเรื่องราวที่เข้าใจยาก ให้เข้าใจง่ายขึ้น เพื่อดึงดูดความสนใจ
- การทำ E-mail Marketing ส่งถึงลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ด้วยเครื่องมือการจัดกลุ่มลูกค้า
- การทำวิดีโอเนื้อหา (Content) เพื่อสร้างความสนุกสนาน
- สามารถขายออนไลน์ได้
ทักษะ Operations Management
- ต้องสามารถจัดการผลิตตั้งแต่ในส่วนของกระบวนการนำเข้าการจัดการจัดหาปัจจัยการผลิตที่ตรงตามความต้องการของตลาด ของระบบเกษตร ส่วนกระบวนการผลิต ต้องมีระบบและวิชาการที่เหมาะสมในการผลิตเพื่อให้ได้ Output ที่เหมาะสม ได้แก่ ผลผลิตต่อไร่ที่สูง ต้นทุนต่อหน่วยต่ำ ได้คุณภาพ คุณลักษณะที่ตลาดต้องการ ความสามารถในการดูแลจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและการขนส่ง Operations Management เน้นเกษตรแม่นยำ ตามแนวคิด 4Rs
- มีมาตรฐานเกษตรที่เกี่ยวข้องที่ควรนำมาปฏิบัติ เช่น มาตรฐาน มกอช. กรมปศุสัตว์ มอก. ให้เหมาะสม
ทักษะ Business Planning
- ต้องสามารถทำการวิเคราะห์สภาพการตลาดของผลผลิตและคาดหมายสถานการณ์ที่จะต้องรับมือด้วยการวางแผนการผลิต การตลาและการเงินที่เหมาะสม ทำให้มีศักยภาพในการแข่งขัน มีความสามารถในการทำกำไร
- ความสามารถในการจัดการเรื่องต้นทุนและผลกำไร และการวางแผนธุรกิจ
- เป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้จัดการควรต้องรู้ด้านการวางแผนธุรกิจ การวางแผนการผลิตและการตลาด
- สามารถวิเคราะห์และการวางแผนธุรกิจได้
- การวางแผนธุรกิจ ซึ่งจะครอบคลุมทั้งการผลิต การเงิน
- สามารถจัดทำ Business Planning อย่างเป็นรูปธรรม นำไปสู่การสร้างกำไร และสร้างเกษตรมูลค่าสูง ให้ Smart Farmers
ทักษะ Product Development
- สามารถเข้าใจความต้องการ พฤติกรรมของตลาดในปัจจุบันและในอนาคตเป็นการล่วงหน้า ต้องการความมีวิสัยทัศน์ในการสร้างความแตกต่างและแปรเปลี่ยนไปเป็นแนวคิดแนวปฏิบัติในการพัฒนาสินค้า พืชผลใหม่ ๆ ที่มีความแตกต่างและเป็นที่ต้องการของตลาดได้
- ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดค้นพัฒนา และปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมเกษตรทั้งที่เป็นอาหาร กึ่งอาหาร และมิใช่อาหาร ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค
- สามารถคิดสร้างสรรค์สินค้าเกษตรใหม่ได้
- บัณฑิตสามารถพัฒนาสินค้าเกษตรใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง
ทักษะ New Business Development
- เป็นงานที่ต่อเนื่องกับ Product Development การพัฒนาธุรกิจใหม่ ต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของธุรกิจกับตัวธุรกิจเองเพื่อกำหนดกลยุทธการทำธุรกิจใหม่ จึงต้องมีความสมารถในการวิเคราะห์ SWOT การพัฒนา TOWS Matrix strategies ความสามารถในการพัฒนากลยุทธธุรกิจไปสู่กลยุทธปฏิบัติเช่น 7Ps Marketing Mix การกำหนดลูกค้าเป้าหมาย และการวางตำแหน่งทางการตลาด ผ่าน STP Market Model เป็นต้น
- การมองหาโอกาสทางธุรกิจต่าง ๆ ประสานงานกับ Product Development เพื่อเสนอแผนโครงการต่าง ๆ ให้กับคู่ค้าเป้าหมาย
- บัณฑิตสร้างธุรกิจเกษตรสมัยใหม่อย่างต่อเนื่อง
ทักษะ Sales Management
- ต้องสามารถวางแผนการขาย การกำหนดเงื่อนไขการค้า การเจรจาต่อรองกับลูกค้า มีความสามารถในการจัดเตรียมเอกสารที่มีเนื้อหา (Content) ที่เป็นประโยชน์กับลูกค้า จูงใจให้เกิดความสนใจและตัดสินใจซื้อได้ มีความสามารถในการนำเสนอต่อลูกค้าในรูปแบบต่าง ๆ
ทักษะ Social Media Marketing
- ต้องสามารถเข้าใจในรายละเอียดของสื่อสังคมออนไลน์ว่ามีความเหมาะสมกับการทำธุรกิจของตนอย่างไร มีความสามารถในการวิเคราะพฤติกรรมการใช้สื่ออนไลน์ของผู้บริโภคในแต่ละกลุ่มสื่อเพื่อออกแบบเนื้อหาให้ตรงตามพฤติกรรมผู้บริโภค มีความสามารถในการกำหนด Media Content Matrix ได้
- สามารถใช้ประโยชน์ทางการตลาดจากสื่อสังคมออนไลน์
ทักษะ Manufacturing
- ต้องสามารถเข้าใจกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม เพื่อตอบโจทย์ในการพัฒนาผลผลิตที่เป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมได้ตรงตามที่อุตสาหกรรมต้องการ และในกรณีที่เกษตรกรมีธุรกิจแปรรูปขึ้นมาก็จะต้องมีความสามารถในการผลิตและการจัดการปฏิบัติการในระบบอุตสากรรม ต้องเข้าใจกฏระเบียบเงื่อนไขต่าง ๆ ทั้งที่เป็นกฏหมาย ระบบมาตรฐานต่าง ๆ ต้องมีความสามารถในการบริหารโซ่คุณค่า (Value Chain Management) เป็นอย่างดี
ทักษะ Agribusiness
- ต้องสามารถเปลี่ยนความคิด (Mindset) จากเกษตรกรไปเป็นนักธุรกิจเกษตร ต้องสามารถบริหารจัดการโซ่อุปทานธุรกิจเกษตรและโซ่คุณค่าธุรกิจเกษตรได้เป็นอย่างดี ใช้แนวคิดการตลาดนำการผลิตแทนการมุ่งการผลิตที่ตนถนัดมาก่อน
- การผลิตและการจำหน่าย ปัจจัยการผลิตสินค้าเกษตร กิจกรรมการผลิตในฟาร์ม การเก็บรักษา การแปรรูป และการจัดจำหน่ายสินค้าเกษตรและผลิตผลพลอยได้จากสินค้าเกษตรและผลิตผลพลอยได้จากสินค้าเกษตร
- ต้องสามารถจัดการต้นทุนและกำไรได้
- ความสามารถด้านการจัดการทางธุรกิจ เนื่องจากต้องการให้ผลผลิตขายได้
- คล้ายกับ Supply chain management and business planning
ทักษะ Budgeting
- ต้องสามารถวางงบประมาณจากการจัดการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในการผลิตจากค่าใช้จ่ายตามระยะเวลาการทำกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นการใช้ปัจจัยการผลิต การลงทุน ค่าเสื่อม ดอกเบี้ย ต้นทุนมาตรฐานต่อไร่ ต่อหนึ่งหน่วยผลผลิต สามารถกำหนดปริมาณเป้าหมายการขายตามช่วงเวลา เพื่อให้ทราบถึงกระแสเงินเข้าและออกเพื่อการบริหารการใช้จ่ายที่เหมาะสม การวางแผนการกู้ยืมเงินทุนในปริมาณและช่วงเวลาที่เหมาะสม การควบคุมการทำกำไรโดยเปรีบเทียบกับงบการเงินที่เกิดขึ้นจริงเพื่อให้มีการแก้ไขปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง
- เป็นส่วนหนึ่งของ Business Planning
- ควรเป็น Financial management or Finance literacy
ทักษะ Engineering
- ต้องสามารถเข้าใจเทคโนโลยีใหม่ ๆ สามารถวิเคระห์ตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สามารถวางแนวคิดในการประยุกต์เทคโนโลยี อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการทำงานฟาร์มได้อย่างเหมาะสม
- สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
ทักษะ Farms
- การดำนินการผลิตโดยการจัดการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด คือ ที่ดิน แรงงาน และทุน ซึ่งรวมถึงรวมถึงการวางแผนผังและงบประมาณฟาร์ม การจัดระบบการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ การพัฒนาการผลิต การตลาด การเก็บบันทึกขัอมูลเพื่อการวิเคราะห์และประเมินผล
- ต้องสามารถสร้างฐานข้อมูลสภาพแวดล้อมทางกายภาพของฟาร์ม เช่น ตำแหน่งที่ตั้งฟาร์ม การเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลที่ผลต่อการทำฟาร์ม ต้องสามารถประเมินความเสี่ยง ต้องสามารถประยุกต์ใช้ 7S Model ของ Michael E. Porter เพื่อวิเคราะเกี่ยวกับฟาร์มและกำหนดแนวทางการจัดการฟาร์มที่เหมาะสม
สายงานด้านการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ (Tourism)
เมื่อได้มีการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ สายงานด้านการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ผู้ทรงคุณวุฒิได้เสนอให้จัดทำ Skill Mapping โดยยึดตามข้อตกลงร่วมว่าด้วยการยอมรับคุณสมบัติบุคลากรด้านการท่องเที่ยวอาเซียน หรือ ASEAN Mutual Recognition arrangement on Tourism Professionals
โดยที่ ASEAN MRA หรือ ASEAN Mutual Recognition Arrangement คือ ข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพ ซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับการแสวงหาจุดยอมรับร่วมกันเรื่องคุณสมบัติของผู้ทำงานด้านบริการ โดยเฉพาะในกลุ่มที่เป็นนักวิชาชีพ เช่น แพทย์ วิศวกร สถาปนิก นักบัญชี เป็นต้น
ข้อตกลง MRA on Tourism Professionals มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
(๑) อํานวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายบุคลากรด้านการท่องเที่ยวระหว่างประเทศสมาชิก
(๒) แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศในการจัดการเรียนการสอนและ การฝึกอบรมบุคลากรด้านการท่องเที่ยวโดยเน้นสมรรถนะ และส่งเสริมโอกาสความร่วมมือ และการเสริมสร้างศักยภาพระหว่างประเทศสมาชิก
ทั้งนี้ ข้อตกลงดังกล่าวได้กําหนดตําแหน่งงานด้านการท่องเที่ยว ซึ่งประกอบไปด้วยอาชีพทั้งหมด ๓๒ อาชีพ แบ่งเป็น ๖ กลุ่มย่อยดังนี้ Front Office, Housekeeping, Food Production, Food and Beverage Service, Travel Agencies, Tour Operation
โดยผู้ทรงคุณวุฒิได้พิจารณาทักษะที่ได้จากฐานข้อมูล และให้ความเห็นว่าทักษะนั้น ๆ มีความสำคัญมากน้อยเพียงใด โดยให้คะแนนความสำคัญทั้งหมด ๕ ระดับ คือ น้อย ค่อนข้างน้อย ปานกลาง ค่อนข้างมาก มาก
จากนั้นจึงแทนค่าน้ำหนัก ด้วยตัวเลขดังนี้ น้อย เท่ากับ ๑ ค่อนข้างน้อย เท่ากับ ๒ ปานกลาง เท่ากับ ๓ ค่อนข้างมาก เท่ากับ ๔ และ มาก เท่ากับ ๕ และนำคำตอบของผู้ทรงคุณวุฒิ มาแทนด้วยตัวเลข และคำนวณหาค่าเฉลี่ย แสดงคะแนนส่วนของผู้ทรงคุณวุฒิได้ดังรูปที่ ๑ และ รูปที่ ๒. ในขณะที่คะแนนจากฐานข้อมูล จะนำค่าจำนวนของผู้ที่มีทักษะมากสุด มาทำการ Normalize และ Scale ให้คะแนนเต็ม ๕ ในขณะที่ทักษะอื่น ๆ ก็จะมีคะแนนลดหลั่นลงมาตามลำดับ
รูปที่ ๑ เปรียบเทียบทักษะในมุมองของผู้ทรงคุณวุฒิ กับฐานข้อมูล ในรูปแบบ Bar Chart
รูปที่ ๒ เปรียบเทียบทักษะในมุมองของผู้ทรงคุณวุฒิ กับฐานข้อมูล ในรูปแบบ Radar Chart
โดยมีคำนิยามแต่ละทักษะที่ได้กำหนดให้ผู้ทรงคุณวุฒิได้ประเมิน แสดงดังนี้
ทักษะ Tourism
มีทักษะและความเข้าใจใน การวางแผนการท่องเที่ยว ธุรกิจโรงแรม งานบริการอาหารและเครื่องดื่ม งานครัวและการประกอบอาหาร งานจัดแสดงอาหาร งานแม่บ้าน งานต้อนรับ งานส่วนหน้า และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
ทักษะ Hospitality
สามารถใช้ทักษะด้านสายงานด้านบริการ (Hospitality) ได้อย่างดี เช่น ทักษะด้านภาษา ทักษะการติดต่อสื่อสาร ทักษะของการจัดการแก้ไขกับปัญหาที่เกิดขึ้นและความขัดแย้ง ทักษะในการพูดและการนำเสนอ รวมไปถึงการจัดการเรื่องความแตกต่างทางวัฒนธรรม เชื้อชาติ ศาสนา
ทักษะ Travel Management
สามารถวางแผนและการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านการเดินทาง สามารถบริการความสะดวกสบายของผู้จองและผู้เดินทาง สามารถจัดการบุคลากร การจัดเตรียมตั๋วเครื่องบิน หรือรถสำหรับเดินทาง การจัดหาห้องพัก การจัดการงบประมาณ
ทักษะ Hotel Management
สามารถบริหารกิจกรรมงานในโรงแรมทั้งหมดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงาน เช่น งานบริหารส่วนหน้า (Front Office) งานจองห้องพัก (Booking & Interfaces) งานแม่บ้าน (Housekeeping) งานชำระเงิน (payment channel) งานบัญชี (Accounting) รวมถึงในการจัดการส่วนของลูกค้า (Client Manager) หรือการทำการตลาด CRM
ทักษะ Sales Management
สามารถบริหารกิจกรรมด้านงานขาย เพื่อสร้างความได้เปรียบด้านงานขาย เช่นการพัฒนาทีมขาย สามารถจัดการเรื่อง sales operation ต่าง ๆ สามารถใช้เทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการขายทั้งหมดนี้เพื่อให้ถึงเป้าการขายที่ตั้งใว้ มีทักษะในการปรับปรุงประสิทธิผลในการขาย
ทักษะ Leisure Industry
สามารถจัดการวางแผน การท่องเที่ยวเชิงกิจกรรมสันทนาการ การตลาดเชิงกีฬาการตลาดความบันเทิง เช่น แนะนำและการวางแผนกิจกรรมสันทนาการ การจองตั๋วต่าง ๆ รวมถึงที่พัก
ทักษะ Business Travel
สามารถจัดการวางแผน การท่องเที่ยวที่มีวัตถุประสงค์ที่มีกิจกรรมด้านธุรกิจเป็นจุดมุ่งหมายหลัก เช่น การเดินทางไปร่วมประชุม สัมมนา เจรจาธุรกิจ ในขณะเดียวกันก็อาจมีการพักผ่อนหย่อนใจเป็นส่วนประกอบ สามารถวางแผนการเดินทาง การจัดกิจกรรมต่าง ๆ การจองตั๋วต่าง ๆ รวมถึงที่พัก
ทักษะ Leisure Travel
สามารถจัดการ การท่องเที่ยวที่มีวัตถุประสงค์เพื่อผักผ่อน เช่น นันทนาการ ศึกษาธรรมชาติ ศึกษาศิลปวัฒนธรรมได้ เช่น แนะนำและการวางแผนการท่องเที่ยวตลอดทริป สามารถ จองตั๋วเครื่องบิน ตั๋วรถไฟ รถประจำทางและวิธีการขนส่งอื่น ๆ ให้ลูกค้า และสามารถจองโรงแรมให้ลูกค้าได้
ทักษะ Hospitality Management
สามารถบริหารจัดการ การบริการลูกค้าได้ สามารถเข้าใจวัฒนธรรม เชื้อชาติ ศาสนา ของลูกค้าที่หลากหลาย และสามารถใช้ภาษากาย ภาษาพูดได้เป็นอย่างดี
ทักษะ Revenue Analysis
มีทักษะในการจัดการรายได้ เพิ่มประสิทธิภาพทางการเงินของโรงแรมและรีสอร์ท เพื่อเพิ่มรายได้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สามารถขายห้องพัก ให้ถูกกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ในเวลาที่เหมาะและผ่านช่องทางการขายที่ถูกต้องและคุ้มค่า
ทักษะ Social Media Marketing
ต้องสามารถเข้าใจในรายละเอียดของสื่อสังคมออนไลน์ว่ามีความเหมาะสมกับการทำธุรกิจของตนอย่างไร มีความสามารถในการวิเคราะพฤติกรรมการใช้สื่ออนไลน์ของผู้บริโภคในแต่ละกลุ่มสื่อเพื่อออกแบบเนื้อหาให้ตรงตามพฤติกรรมผู้บริโภค มีความสามารถในการกำหนด Media Content Matrix ได้
ทักษะ Food & Beverage
รู้บทบาทและหน้าที่ของพนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม สามารถอธิบายเกี่ยวกับรายการอาหารและเครื่องดื่มได้ สามารถใช้เครื่องมือเครื่องใช้ในการบริการอาหารและเครื่องดื่ม สามารถทำความสะอาดและการเตรียมการบริการ และสามารถทำงานได้ถูกสุขอนามัยเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มและอนามัยส่วนบุคคล
ทักษะ Travel Planning
สามาระวางแผนการเดินทางตลอดทริป แนะนำสถานที่ต่าง ๆ เช่น ที่กิน ที่เที่ยว ที่พัก ภายใต้งบประมาณที่ลูกค้ากำหนด สามารถ จองตั๋วเครื่องบิน ตั๋วรถไฟ รถประจำทางและวิธีการขนส่งอื่น ๆ ให้ลูกค้า และสามารถจองโรงแรมและจองตั๋วสำหรับสถานที่ท่องเที่ยวในท้องถิ่นของจุดหมายปลายทาง และสามารถช่วยลูกค้าในการขอวีซ่า และหาซื้อประกันการเดินทางให้ลูกค้า
ทักษะ Travel
สามารถจัดการการเดินทาง เช่น การจัดหาตั๋ว ที่พักของการเดินทาง ทั้ง Inbound Travel, Outbound Travel และ Domestic Travel ได้ รวมไปถึงสามารถจัดการการเดินทางทั้งแบบ Leisure Travel ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ และ Corporate Travel ที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะอย่างเช่นการสัมมนา
ทักษะ Travel Consulting
สามารถให้คำปรึกษาและวางแผนด้านการเดินทาง ทั้งแบบ Inbound Travel, Outbound Travel และ Domestic Travel ได้ รวมไปถึงสามารถให้คำปรึกษาการเดินทางทั้งแบบ Leisure Travel ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ และ Corporate Travel ที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะอย่างเช่นการสัมมนา
เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้คะแนนแต่ละทักษะเรียบร้อยแล้ว ท่านผู้ทรงคุณวุฒิไม่ได้เสนอปรับคำนิยามใดๆ แต่ผู้ทรงคุณวุฒิบางท่านได้เสนอทักษะเพิ่มเติมดังนี้
ทักษะ Social Marketing
สามารถสร้างสื่อประชาสัมพันธ์เชิงรุก (รณรงค์) ด้านการท่องเที่ยวผ่านช่องทางการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมและทันต่อสถานการณ์
ทักษะ Digital Technology for Tourism
สามารถเรียนรู้การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสนับสนุนงานด้านการท่องเที่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถเข้าใจเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสนับสนุนด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม ได้แก่ AR VR Metaverse
ทักษะ Smart Ticketing
สามารถตัดสินใจในการลงทุน และใช้งาน ระบบ Smart Ticketing ได้อย่างเหมาะสมและคุ้มค่าการลงทุน
ทักษะ Health Tourism
สามารถบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยความร่วมมือกับผู้ประกอบการด้านสุขภาพได้อย่างครบวงจร